หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

แล้วใครบอกล่ะ...ว่าปลวกกินไม้

BY.....JACKY

     โอย...อูย...ซี๊ด...อ๊า...อวู๊...ไม่ไหวแล้วแปรงฟันไปมาอยู่ดี ๆ ก็เจ็บเหงือก แหม...งานนี้สงสัยต้องเปลี่ยนไปใช้แปรงสีฟันของคุณน้าโย่ง(จำอวดหน้าม่าน)ที่โฆษณาให้กับแปรงสีฟันยี่ห้อหนึ่งจะดีไหมเนี่ย
     อ่ะ อ่ะ อ่ะ จัดไปสักหนึ่งฉ่อย...ก่อนจะเริ่มเรื่องราวววววกัน

        
          เอิง...เอิง...เอยย...ฉะ...เอิง...เอ้ย...วันนี้จะพูดเรื่องไม้โครงกัน
     ไปซื้อกันทุกวันที่บางโพ...อ่ะ...ใช่ไหม
     โครงจะขาวสะอาดดีก็ต้องโครงพาราซี สะอาดดีกว่าใคร
     ท่อนโครงหรือก็นุ่มนักหนา...ไม่ว่าจะแบกด้วยบ่าขวาหรือว่าบ่าซ้าย
     ไม่โดนปลวกมอด...ทำลายมัน...เพราะว่าโครงพารานั้นได้รับมาตรฐานจากกรม...(อะไร?)

     จริง ๆ ไม้ได้จะมาเขียนเรื่องไม้โครงแต่พอดีระดับดีกรีมันพาไป...คุณผู้อ่านทุกท่านหวังว่าคงพอจะรู้ว่าทุกครั้งที่ขึ้นงานไม้...อันดับแรกเลยที่ขาดไม่ได้  คือ  ไม้โครง ตามมาด้วยการทาน้ำยากันปลวก...
     แต่ถ้าท่านสังเกตดี ๆ  ตามไม้โครงแต่ละมัดทั่วไป  ก็จะมีตราประทับมาว่า อัด อบ มาตรฐาน...ผมล่ะก็งงเป็นไก่ตาแตกเลยล่ะครับ..ก็ทำไมล่ะในเมื่อถ้า อัด อบ มาแล้ว ทำไมต้องทาน้ำยากันปลวกอีก...อืมมม
     ถ้างั้นก็คงต้องทดข้อความข้างบนไว้ในใจก่อน(เหมือนคิดเลขในใจ)...แล้วมาดูข้อความที่ผมจะเขียนต่อจากนี้ไป..."ต๊าย  ตาย  ปลวกกินไม้ชั้นย่ะ"   "ทำไงดี...ปลวกกินไม้เฟอร์นิเจอร์ผมหมดแล้ว"

     จายเย็ง ๆ คัก อย่าเพิ่งตกใจ ปลวกไม่ได้กินไม้ของคุณครับ...แต่ปลวก ! มันกินน้ำในเนื้อไม้ต่างหากล่ะครับ...แล้วมันเป็นไง...ตามธรรมดาทุกคนจะเข้าใจกันว่าปลวกกินไม้ครับ...แต่ จริง ๆ แล้ว ปลวกไม่ได้กินไม้...มันกินน้ำในเนื้อไม้ครับ...ผมเคยโต้แย้งกันมาหลายคน บางคนบอกว่าปลวกกินไม้ แต่ผมก็ขอนั่งยัน ยืนยัน ทั้งฟันธง และ คอนเฟิร์มว่า ปลวก...กินน้ำในเนื้อไม้ครับ
     งั้นคงต้องอธิบายตาม common sense ล่ะกันครับ ถ้าจะให้อธิบายตาม sense engineer ก็คงต้องไปถามผู้ที่จบมาทางด้านวิศวกรรมไม้ล่ะกันครับ...
     สังเกตง่าย ๆ เริ่มจากมอดเลยล่ะกัน...ถ้าสังเกตให้ดีเวลามอดกัดกินเฟอร์นิเจอร์ไม้ของเรา จะมีเศษขลุย ขี้ไม้ร่วงลงมาดั่งกับฝุ่นครับ...นั่นแหละเนื้อไม้ที่มอดมันไม่ได้กิน  แต่ที่มันกินคือน้ำในเนื้อไม้ครับ...
     หรือเอาง่าย ๆ อย่างกับจอมปลวกที่ขึ้นอยู่ตามโคนต้นไม้ใหญ่  ถ้าปลวกกินไม้จริง ทำไมต้นไม้ต้นนั้นถึงยังยืนต้นอยู่ได้...เพราะว่ามันไม่ได้กินเนื้อไม้ครับ แต่มันกินน้ำในเนื้อไม้...เมื่อมันกินน้ำในเนื้อไม้ต้นมันก็ยังพออยู่ได้(เพราะปลวกไม่สามารถกินน้ำในต้นไม้ให้หมดได้ภายในเวลาที่จำกัดมากนัก)...มันจึงเกิดการพึ่งพาอาศัยกัน ระหว่างจอมปลวกกับต้นไม้ใหญ๋)...เท่านี้คงพอเข้าใจกันมั่งน่ะครับหรือหากสงสัยก็สอบถามได้จากผู้ที่จบจากวิศวกรรมไม้ได้น่ะครับ...
     อ่ะ อ่ะ อ่ะ ทีนี้ไอ้ที่ทดข้อความไว้ในใจเมื่อตะกี้นี้เอาออกมาได้แล้วล่ะคร้าบบบบบบบบบบบบบบบ...
ในเมื่อถ้าตามหลักแล้วไม้โครงที่อบ แล้วก็อัดมา จนได้มาตรฐานแล้วนั้น...มันถูก อบ มา(ถ้าจำไม่ผิด ก็น่าจะอยู่ที่ประมาณ 130 องศา)...นั่นก็หมายความว่า เราได้ทำการขจัดน้ำในเนื้อไม้มันออกไปหมดแล้ว
อืมมมมมมมม...แล้วปลวกมันจะกินอะไร ? ถ้าผมจะบอกว่า ไม้โครงที่อบ อัด มาแล้วนั้น ไม่จำเป็นต้องทาน้ำยากันปลวกล่ะ  จะเป็นไปได้ไหม ? (อย่างน้อยก็คงจะลดต้นทุนการผลิตไปได้พอสมควร)
    แต่ทีนี้...ผมไม่แน่ใจว่า...ในเมื่อมันถูกอบมาเป็นอย่างดีแล้ว...จะมีไหม ที่บางวัน ถ้ามันได้รับความชื้นแล้วความชื้นนั้นจะไปแฝงตัวอยู่ในไม้โครงจนเกิดเป็นน้ำที่ฝังตัวอยู่ในเนื้อไม้ได้...จนทำให้ปลวกกัดกินไม้ได้อีก...ผมขอตอบเลยล่ะกันว่า...ปลวก ! ไม่กินน้ำเปล่าคร้าบบบบ...แต่มันกินน้ำเลี้ยงในเนื้อไม้...โดยเฉพาะต้นใหญ่ ๆ น่ะคร้าบบบบ.....จ้าวนายยยยยยยยยยยยย
     ท้ายสุด...ก็ร่ำพรรณามาจนยาวเหยียด.....แล้วก็ร่ายยยยคำเขียนมาจนยาวย้อย ตั้งแต่เริ่มต้นด้วย...ฉ่อยไม้โครง...แต่ก็คงไม่คิดที่จะไปสู้กับสามเกลอของจำอวดหน้าม่านเขาหรอกครับ...เพราะผมขอเป็นเพียงแค่..."กำขวดหน้าบ้าน"...ก็พออออออ
     แต่ที่รู้ ๆ ค่ำคืนนี้ผมขอยอมเป็นไม้โครงที่ไม่ถูก อัด อบ มา เพียงเพื่อผมอยากต้องการแค่ว่า...ใครก็ได้ ช่วยมากัด กิน หัวใจของผมที.....



                                                                
 

วันจันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

Best of Shopping Plaza Toilet 4 Dark Side of Tokyo Japan ที่สุดของห้องน้ำห้างสรรพสินค้า ตอนที่ 4 ด้านค่อนข้างมืดของโตเกียว ญี่ปุ่น

Best of Shopping Plaza Toilet 4
Dark Side of Tokyo Japan
ที่สุดของห้องน้ำห้างสรรพสินค้า ตอนที่ 4
ด้านค่อนข้างมืดของโตเกียว ญี่ปุ่น

By PhromAke

หลังจากชมห้องน้ำแบบคลาสสิคญี่ปุ่น สัมผัสวัฒนธรรมอันละเมียด(ดูตอนที่ 2 ) ก็เดินตามทางม้าลายข้ามถนนมาอีกด้านของเมือง(จริงๆควรจะมาต่อนานแล้วมัวแต่หนีน้ำท่วม)



ดูมีสีสันทันสมัย



นั่นไงเห็นป้ายทางเข้าห้องน้ำแล้ว



บรรยากาศช่างแตกต่างจากห้องน้ำฟากที่แล้วของเมืองอย่างลิบลับ ดูเหมือนด้านมืดอย่างไรชอบกล ชวนให้นึกถึงเรื่อง "โตเกียว ไม่มีขา" หนังสือของคุณนิ้วกลม ที่กล่าวไว้ทำนองว่า เด็กผู้ชายไทยยุคผมล้วนเติบโตขึ้นมากับคุณครูญี่ปุ่น เป็นคุณครูด้านไหนนั้นไปหาอ่านเอาเอง หรือดูบรรยากาศกล่องโปสเตอร์ไฟข้างหน้าก็คงพอจะนึกออก



เดินเข้ามาค่อยยังชั่ว นึกว่าจะเจอเรื่องวาบหวิว







กลายเป็นแนวห้องน้ำ J Pop ไป เห็นทางเข้าด้านหน้าเล่นเอาจินตนาการไปไกล



ตรอกที่เดินออกจากห้องน้ำ ก็มืดๆคล้ายๆย่านกลางคืนของโตเกียว (ไม่เคยไปหรอกเดาเอา)

วันศุกร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

UNION ความรักด้วย WALL PAPER

     อ่ะ อ่ะ อ่ะ ผมชักเริ่มสงสัยกับนิยามของ.....?.....(ไม่ใช่การ union แน่ ๆ) อย่าเพิ่งหนีหายไปไหนเพราะยังไงเสียผมก็ต้องมาบอกเล่าเก้าสิบกับกฎของการ union อยู่ดี
     แต่ที่ผมงงอยู่นี่สิว่าผมเอามาเกี่ยวข้องกับสิ่งที่ผมกำลังจะเขียนอยู่ได้ไง...ถ้างั้นคงต้องปล่อยมันไปตามอารมณ์ก่อน เดี๋ยวค่อยย้อนกลับมาดูว่า สิ่งที่ผมสงสัยนั้น...มันคืออะไร?
     ที่ รู้ ๆ เรามาคุยเรื่องที่ค้างกันไว้ดีกว่า union ครับ...ว่าแต่มันเกี่ยวอะไรกับ wall paper อ่ะ...นั่นน่ะสิ ๆ ...
     ตามปกติ wall paper จะมีขนาดหน้ากว้างตามมาตรฐานอยู่ประมาณ 50-55 cm. ซึ่งหากเราจะทำการติดตั้ง wall paper ตามผนังบ้านเราก็คงต้องทำการ ตัด ต่อ หลายครั้งหน่อย ซึ่งนั่นก็จะแสดงถึงฝีมือของช่างแต่ละคนว่ามีความสามารถแค่ไหน เนื่องจากในตอนนี้เราจะดูรอยต่อของ wall paper ว่า wall paper แต่ละแผ่นที่ต่อกันนั้นมีรอยต่อห่างกันมากน้อยแค่ไหนนั่นเอง
     ส่วนใหญ่ wall paper ก็จะมีรูป ลาย ลักษณะ ตามแบบฉบับพื้น ๆ ที่ เหล่าบรรดาผู้ผลิตอาศัยการประหยัดในการพิมพ์ลาย แบบ ให้เป็นแบบชนิดเดียวกันมาก ๆ หน่อย และลักษณะของ รูปลักษณ์ และ ลายของแผ่น wall paper ต่าง ๆ ก็จะไม่ค่อย create เท่าใดนัก.....
     แต่ถ้าเป็นผม...เอ่อ...ผมคงเลือกที่จะดีไซน์ลายแบบของ wall paper ตามแบบฉบับของผมเอง (ถึงแม้อาจจะเปลืองงบประมาณเพิ่มขึ้นจากการออกแบบเองก็ตาม) ดังเช่น รูปข้างล่าง 2 รูปนี้(สมมติน่ะครับว่ารูปสองรูปนี้คือ wall paper สองแผ่นที่ผมสามารถนำมาติดกับผนังบ้านผมได้พอดี
     นั่นล่ะครับก็จะไปเข้ากับกฎของการ union พอดี (ตามข้างล่างนี้)
  



บทนิยาม เซต A ยูเนียนกับเซต B คือเซตซึ่งประกอบด้วยสมาชิกที่เป็นสมาชิกของเซต A หรือ เซต B หรือทั้ง A และ B สามารถเขียนแทนได้ด้วย สัญลักษณ์ A ∪ B



ตัวอย่างเช่น A ={1,2,3}

B= {3,4,5}

∴ A ∪ B = {1,2,3,4,5}

     ถ้าแปลง่าย ๆ ก็คือ การนำมารวมกันทั้งหมดครับ (คล้าย ๆ การบวกกัน)
  


เมื่อทำการใช้กฎการ union ท่านก็จะได้ ผนัง wall paper ออกมาใหม่ตามรูปข้างล่างนี้น่ะครับ
(หวังว่าคงจะเข้าใจกับกฎการ union เพราะว่าง่ายกว่าการ Intersection มาก ๆ)



     นี่แหล่ะครับ คราวนี้คุณก็จะสามารถประสานหัวใจระหว่างคุณกับแฟนของคุณไว้ในอ้อมมือของคุณทั้งสองได้แล้วล่ะครับ.....เพราะว่าคุณได้ใช้กฎของการ union ที่จะช่วยประคองความรักของคุณทั้งสองให้ยาวนานตามกาลเวลาดั่งกับ wall paper ข้างบนนี่ล่ะคร้าบบบบ.....(นี่แหละ สิ่งเล็ก ๆ ที่เรียกว่ารัก)
    
     หากท่านผู้อ่านท่านใดที่กำลังเบื่อหน่ายกับภาพบรรยากาศของ wall paper ลายเดิม ๆ โดยเฉพาะหลังจากผ่านพ้นจากภัยพิบัติน้ำท่วมไปแล้ว ท่านผู้อ่านที่คิดจะ renovate ก็ติดต่อเรามาได้น่ะครับ.....เพราะทางบริษัทฯเราจะจัดส่ง site engineer ไปประเมินงานก่อนที่ทางเราจะจัดส่งทีมงานช่างไปใช้กฎ union นั่นเอง.....แต่งานนี้ผมคงต้องขอตอบแทน คุณ site engineer ก่อนว่า อืมมมม.....คงต้อง.....รื้อ !!! แล้วทำใหม่ก๊าบป๋ม...

     แล้วนิยามที่ผมกำลังสงสัยอยู่นั้นก็เหมือนดั่ง wall paper สองแผ่นข้างบนนี้ที่ยังอยู่กันคนละม้วน เหมือนดั่งแผ่น wall paper ที่รอการ union เหมือนดั่งการรอคอยช่าง wall paper มาทากาวปะสานหัวใจทั้งสองให้ได้อยู่ด้วยกันอย่างแนบแน่น แล้วสุดท้ายก็รอคอยลูกกลิ้งที่จะมารีดความประทับใจลงไปบนแผ่น wall paper ทั้งสองนี้ให้เป็นหนึ่งเดียว บนผืนแผ่นผนังแห่งความรักนั่นเอง.....(นี่แหละ.....นิยามของความรักก็คือการจากนั่นเอง)
     แต่สำหรับผม.....ผมว่านิยามความรักของผมไม่ใช่การจาก...แต่...มันเป็นการคอมพลีเม้นท์ครับ
(ติดตามได้กับเรื่องราวของงานตกแต่งภายในที่จะมาประยุกต์กับการใช้กฎการคอมพลีเม้นท์ที่จะต่อจากเรื่องการยูเนี่ยนต่อไปได้น่ะครับ)

หมายเหตุ : ท่านผู้อ่านอาจเปลี่ยนจากการใช้ wall paper มาเป็น Ink jet ก็ได้น่ะครับ.....
BY : JACKY

วันอังคารที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

KICK OFF WITH WALL PAPER

     พอดีพึ่งได้รับมอบหมายจาก บ.ก. อ๊ะ ๆ อย่าเพิ่งเข้าใจผิดเพราะบริษัทฯไม่ได้จัดจำหน่ายขายหนังสือตามแผงร้านชั้นนำทั่วไปน่ะคร้าบบบบบ....ก็ (บ.ก.)บอส ก๊าบ! เขาให้เข้ามาช่วยทำหน้าที่นี้แทน(สงสัยงานคงจะเยอะ)...นั่งนึกมาหลายวันก็พอจะคิดได้ว่าผมจะ post เรื่องอะไร...มองผ่านมาแล้วก็มองผ่านไป ?...การทำงานตกแต่งภายในสำหรับทีมงานรับเหมาช่างแต่ละบริษัทฯ ก็คงพอจะมีเทคนิคที่แตกต่างกันไป ไม่ว่าจะเป็นเทคนิคพื้น ๆ หรือ เทคนิคเฉพาะช่างแต่ละชุด นั่นก็ขึ้นอยู่กับความสามารถของทีมช่างแต่ละชุด แต่สุดท้ายผลงานที่ออกมาก็อยู่ที่ความชำนาญของแต่ละทีมมากกว่า...เอ่อ...ผมว่า...เราลองมาดูการ apply ในการทำงานกับสิ่งที่เราได้ร่ำเรียนมาดีกว่า.................      พอดีเคยเห็นผู้รับเหมางาน wall paper (อยากบอกว่าฝีมือสุดยอดมาก...) สิ่งที่ผมกำลังยืนมองช่างในขณะทำงานอยู่ มันทำให้ผมคิดถึงหลักวิชาของคณิตศาสตร์ ในการแก้ไขงาน wall paper (ซึ่ง wall paper มีตำหนิอยู่)...นั่นคือ กฎของ set (คณิตศาสตร์ระดับชั้น ม. 4) ... A∩B จะได้ส่วนที่ Intersection กัน (∩ = Intersection)

     ในที่นี้ถ้าแปลออกมาจากคณิตศาสตร์ความหมายก็คือ มี wallpaper อยู่สองชิ้น ชิ้นแรกคือของเดิมที่เสียหายเป็นตำหนิอยู่ และกับอีกหนึ่งชิ้นที่จะนำมาทำการแก้ไข...โดยปกติช่างบางชุดอาจจะทำการวัดขนาดของ wall paper เดิมที่เสียหายอยู่แล้วทำการตัด wall paper ชิ้นใหม่ทากาวแล้วใช้ลูกกลิ้งรีดลงไปให้พอดีกับร่องรอยเดิมของ wall paper ที่ขาดอยู่...แต่ขอบอกเลยครับว่าความละเอียดจะต่างกันมากเพราะถ้าทำตามนั้นเรายังคงอาจจะเห็นรอยต่อของ wall paper ก็ได้ครับ ซึ่งต่างกับการใช้กฎของ A∩B
     วิธีการดังว่าก็คือให้ตัด wall paper ที่จะนำมาต่อเติมแก้ไขแล้วปะลงไปบนแผ่น wall paper ของเดิม โดยให้มีขนาดใหญ่กว่ารอยขาดของเดิมสักพอประมาณ แล้วใช้กาวทาสักนิดพอให้ปะยึดติดกับแผ่น wall paper ของเดิม...จากนั้นให้ใช้มีดคัตเตอร์ตัดให้เกิดรอยใหม่ เราก็จะได้แผ่น wall paper อันใหม่ที่มีขนาดพอดีกับรอยขาดของแผ่นเดิม(ซึ่งในที่นี้เราจะได้เศษ wall paper ของแผ่นเดิม ออกมาด้วย) จากนั้นทากาวลงบนแผ่น wall paper ที่ตัดออกมาได้ แล้วใช้ลูกกลิ้งรีดแผ่นลงไปบนรอยขาดก็จะได้แผ่น wall paper ที่กลับมาดูสวยงามอีกครั้งหนึ่งครับ
     สุดท้ายท่านผู้อ่านหากยังสงสัยกับกฎของการ Intersection กัน ก็ลองค้นคว้าหาอ่านเพิ่มเติม เพื่อที่จะได้เข้าใจมากขึ้นกว่าเดิมน่ะครับ...
     ..........แล้วเจอกันใหม่กับกฎของการ Union กันน่ะก๊าบบบบบบบบบบบบ..........


Reference By : เวนน์, จอห์น


.....นิยาม.....
   • อินเตอร์เซกชัน (Intersection)


บทนิยาม เซต A อินเตอร์เซกชันเซต B คือ เซตซึ่งประกอบด้วยสมาชิกที่เป็นสมาชิกของเซต A และเซต B สามารถเขียนแทนได้ด้วยสัญลักษณ์ A ∩ B

                                               ตัวอย่างเช่น A ={1,2,3}

                                                                    B = {3,4,5}

                                                                ∴ A ∩ B = {3}