หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

KICK OFF WITH WALL PAPER

     พอดีพึ่งได้รับมอบหมายจาก บ.ก. อ๊ะ ๆ อย่าเพิ่งเข้าใจผิดเพราะบริษัทฯไม่ได้จัดจำหน่ายขายหนังสือตามแผงร้านชั้นนำทั่วไปน่ะคร้าบบบบบ....ก็ (บ.ก.)บอส ก๊าบ! เขาให้เข้ามาช่วยทำหน้าที่นี้แทน(สงสัยงานคงจะเยอะ)...นั่งนึกมาหลายวันก็พอจะคิดได้ว่าผมจะ post เรื่องอะไร...มองผ่านมาแล้วก็มองผ่านไป ?...การทำงานตกแต่งภายในสำหรับทีมงานรับเหมาช่างแต่ละบริษัทฯ ก็คงพอจะมีเทคนิคที่แตกต่างกันไป ไม่ว่าจะเป็นเทคนิคพื้น ๆ หรือ เทคนิคเฉพาะช่างแต่ละชุด นั่นก็ขึ้นอยู่กับความสามารถของทีมช่างแต่ละชุด แต่สุดท้ายผลงานที่ออกมาก็อยู่ที่ความชำนาญของแต่ละทีมมากกว่า...เอ่อ...ผมว่า...เราลองมาดูการ apply ในการทำงานกับสิ่งที่เราได้ร่ำเรียนมาดีกว่า.................      พอดีเคยเห็นผู้รับเหมางาน wall paper (อยากบอกว่าฝีมือสุดยอดมาก...) สิ่งที่ผมกำลังยืนมองช่างในขณะทำงานอยู่ มันทำให้ผมคิดถึงหลักวิชาของคณิตศาสตร์ ในการแก้ไขงาน wall paper (ซึ่ง wall paper มีตำหนิอยู่)...นั่นคือ กฎของ set (คณิตศาสตร์ระดับชั้น ม. 4) ... A∩B จะได้ส่วนที่ Intersection กัน (∩ = Intersection)

     ในที่นี้ถ้าแปลออกมาจากคณิตศาสตร์ความหมายก็คือ มี wallpaper อยู่สองชิ้น ชิ้นแรกคือของเดิมที่เสียหายเป็นตำหนิอยู่ และกับอีกหนึ่งชิ้นที่จะนำมาทำการแก้ไข...โดยปกติช่างบางชุดอาจจะทำการวัดขนาดของ wall paper เดิมที่เสียหายอยู่แล้วทำการตัด wall paper ชิ้นใหม่ทากาวแล้วใช้ลูกกลิ้งรีดลงไปให้พอดีกับร่องรอยเดิมของ wall paper ที่ขาดอยู่...แต่ขอบอกเลยครับว่าความละเอียดจะต่างกันมากเพราะถ้าทำตามนั้นเรายังคงอาจจะเห็นรอยต่อของ wall paper ก็ได้ครับ ซึ่งต่างกับการใช้กฎของ A∩B
     วิธีการดังว่าก็คือให้ตัด wall paper ที่จะนำมาต่อเติมแก้ไขแล้วปะลงไปบนแผ่น wall paper ของเดิม โดยให้มีขนาดใหญ่กว่ารอยขาดของเดิมสักพอประมาณ แล้วใช้กาวทาสักนิดพอให้ปะยึดติดกับแผ่น wall paper ของเดิม...จากนั้นให้ใช้มีดคัตเตอร์ตัดให้เกิดรอยใหม่ เราก็จะได้แผ่น wall paper อันใหม่ที่มีขนาดพอดีกับรอยขาดของแผ่นเดิม(ซึ่งในที่นี้เราจะได้เศษ wall paper ของแผ่นเดิม ออกมาด้วย) จากนั้นทากาวลงบนแผ่น wall paper ที่ตัดออกมาได้ แล้วใช้ลูกกลิ้งรีดแผ่นลงไปบนรอยขาดก็จะได้แผ่น wall paper ที่กลับมาดูสวยงามอีกครั้งหนึ่งครับ
     สุดท้ายท่านผู้อ่านหากยังสงสัยกับกฎของการ Intersection กัน ก็ลองค้นคว้าหาอ่านเพิ่มเติม เพื่อที่จะได้เข้าใจมากขึ้นกว่าเดิมน่ะครับ...
     ..........แล้วเจอกันใหม่กับกฎของการ Union กันน่ะก๊าบบบบบบบบบบบบ..........


Reference By : เวนน์, จอห์น


.....นิยาม.....
   • อินเตอร์เซกชัน (Intersection)


บทนิยาม เซต A อินเตอร์เซกชันเซต B คือ เซตซึ่งประกอบด้วยสมาชิกที่เป็นสมาชิกของเซต A และเซต B สามารถเขียนแทนได้ด้วยสัญลักษณ์ A ∩ B

                                               ตัวอย่างเช่น A ={1,2,3}

                                                                    B = {3,4,5}

                                                                ∴ A ∩ B = {3}




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น